วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แบงก์กรุงเทพออกเงินฝากประจำ 5 เดือน ดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี รับฝากขั้นต่ำ 2 แสน

ธนาคารกรุงเทพ สร้างสรรค์เงินฝากประจำระยะเวลา 5 เดือน อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 3.50% ต่อปี โดยยอดเงินเปิดบัญชีตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป นับเป็นกิจกรรมพิเศษในช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 29 กรกฎาคม นี้เท่านั้น
นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้สร้างสรรค์กิจกรรมเชิญชวนกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย ด้วยข้อเสนอใหม่ล่าสุดกับบัญชีเงินฝาก ระยะเวลา 5 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี โดยเปิดบัญชีด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำ 200,000 บาท และนำฝากแต่ละยอดเงินฝากไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท นับเป็นกิจกรรมรณรงค์เงินฝากพิเศษในช่วงระยะเวลาระหว่างวันพุธที่ 29 มิถุนายน ถึงวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554
การสร้างสรรค์และเปิดตัวบริการบัญชีเงินฝากประจำ 5 เดือนในครั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้ารายย่อยของธนาคารที่ดำเนินการด้วยความต่อเนื่อง โดยข้อเสนอที่ธนาคารมอบให้ทั้งอัตราดอกเบี้ยที่สูงจูงใจ และระยะเวลาการฝากสั้นกว่าที่มีการนำเสนอในตลาดปัจจุบัน จะสามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในเรื่องอัตราเงินเฟ้อและแนวโน้มขิองอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน ทั้งนี้ลูกค้าที่สนใจสามารถเปิดบัญชีเงินฝากประเภทดังกล่าวได้ที่ธนาคารกรุงเทพ ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บัวหลวงโฟน โทร.1333 และ www.bangkokbank.com’


ที่มา : http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=72822:-5-350-2-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524 . 28 มิถุนายน 2554


สรุป 



นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารได้มีการสร้างสรรค์กิจกรรมเชิญชวนกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย ด้วยข้อเสนอใหม่ล่าสุดกับบัญชีเงินฝาก ระยะเวลา 5 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.50% ต่อปีโดยเปิดบัญชีด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำ 200,000 บาท และนำฝากไม่ต่ำกว่า 200,000 บาทใ นช่วงระยะเวลาระหว่างวันพุธที่ 29 มิถุนายน ถึงวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554 เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้ารายย่อยของธนาคารที่ดำเนินการด้วยความต่อเนื่อง
ธนาคารมีข้อเสนอที่มอบทั้งอัตราดอกเบี้ยที่สูงจูงใจ และระยะเวลาการฝากสั้นกว่าที่มีการเสนอต่อตลาดปัจจุบัน ลูกค้าจะมีความพึงพอใจเป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในเรื่องอัตราเงินเฟ้อและแนวโน้มขิองอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ธนาคารกรุงเทพ จัดสัมมนาเอสเอ็มอีครึ่งปี 2554 เรื่อง “ภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งปี 2554ฯ” และ “อนาคตแบรนด์เอสเอ็มอีไทย”


 นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร (ที่ 6 จากขวา) นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ (ขวา) และนายวีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ (ที่ 3 จากซ้าย) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมให้การต้อนรับวิทยากรที่ให้เกียรติอภิปรายเรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทย ครึ่งปี 2554 และผลกระทบจากการเปิดเศรษฐกิจเสรีอาเซียนและจีนและเรื่อง อนาคตแบรนด์เอสเอ็มอีไทยในงานสัมมนาเอสเอ็มอีครึ่งปี 2554 ที่ธนาคารกรุงเทพและชมรมบัวหลวงเอสเอ็มอีจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะผู้ริเริ่มและเล็งเห็นถึงความสำคัญกับภาคธุรกิจ SME ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ตอบสนองความต้องการและสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ อีกทั้งการจัดกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ในการส่งเสริมธุรกิจ SME ในประเทศไทยให้สามารถพัฒนาและก้าวหน้าได้อย่างมั่นคงอย่างต่อเนื่อง


ธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับ JBIC สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นในไทยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

  ธนาคารกรุงเทพ จับมือ ‘JBIC’ สนับสนุนสินเชื่อในรูปแบบ Two Steps Loan Facility แก่บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบทางด้านการค้าจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อใช้ในการฟื้นตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในตลาดโลก และกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

  นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ‘JBIC’ สนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำในวงเงิน 30 ล้านบาท แก่บริษัท อีแอนด์เอช พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โดย นายยาสุฮิโร ฮิราโอกะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี สำหรับใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ นับเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ได้รับสินเชื่อภายใต้โครงการนี้นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

  “สินเชื่อในรูปแบบ Two Steps Loan Facility นี้เป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้าและนักลงทุนจากญี่ปุ่นที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่น

  ธนาคารกรุงเทพในฐานะธนาคารชั้นนำของไทยที่มีลูกค้าเป็นบริษัทญี่ปุ่นมากที่สุดถึงกว่า 3,000 ราย มุ่งมั่นให้การสนับสนุนลูกค้าอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสินเชื่อของลูกค้าบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยธนาคารร่วมมือกับธนาคารระดับภูมิภาค 17 แห่งในญี่ปุ่นในการจัดการและส่งมอบสินเชื่อให้แก่ลูกค้าของธนาคารดังกล่าวในประเทศไทย ปัจจุบันธนาคารกรุงเทพมีสาขาในประเทศญี่ปุ่น 2 แห่ง คือ สาขาโตเกียว และสาขา
โอซากา อีกทั้งจัดตั้งหน่วยงานธุรกิจลูกค้าญี่ปุ่น ที่พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายทางด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในบริการที่สนองตอบความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 ประเทศในทุกๆ ด้าน สำหรับลูกค้าที่สนใจสินเชื่อพิเศษสำหรับบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยงานธุรกิจลูกค้าญี่ปุ่น
นายฮิโรชิ ชิอะมามูระ โทรศัพท์ 0-2353-5084 หรืออีเมล hiroshi.shi@bbl.co.th

ที่มา:http://www.bangkokbank.com/Bangkok%20Bank%20Thai/About%20Bangkok%20Bank/About%20Us/Media%20Room/2011/June/Pages/PressRelease24Jun.aspx . 24 มิถนายน 2554


สรุป 
ธนาคารกรุงเทพ จับมือกับ “ JBIC ” สนับสนุนสินเชื่อในรูปแบบ Two Steps Loan Facility ให้กับบริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยที่ได้รบผลกระทบทางการค้า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ‘JBIC’ สนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำในวงเงิน 30 ล้านบาท แก่บริษัท อีแอนด์เอช พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด สำหรับใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยสินเชื่อในรูปแบบ Two Steps Loan Facility นี้เป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้าและนักลงทุนจากญี่ปุ่นที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เนื่องจากธนาคารกรุงเทพมีลูกค้าเป็นบริษัทญี่ปุ่นมากที่สุดถึงกว่า 3,000 ราย ทางธนาคารจึงสนับสุนลูกค้าอย่างเต็มกำลังเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสินเชื่อของลูกค้าบริษัทญี่ปุ่นในไทย ปัจจุบันธนาคารกรุงเทพมีสาขาในประเทศญี่ปุ่น 2 แห่ง คือ สาขาโตเกียว และสาขาโอซากา อีกทั้งจัดตั้งหน่วยงานธุรกิจลูกค้าญี่ปุ่น ที่พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายทางด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในบริการที่สนองตอบความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 ประเทศในทุกๆ ด้าน

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ธนาคารกรุงเทพและกสิกรไทย สนับสนุนเงินกู้วงเงินรวม 7,900 ล้านบาท แก่อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

     


   นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากซ้าย) ลงนามกับมร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัทบี.กริม และอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ (ที่ 3 จากขวา) นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ (ที่ 2 จากขวา) โดยมีนายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (ขวา) และผู้บริหารบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจำนวนประมาณ 7,900 บาท แก่บริษัทอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ (ระยอง) 1 และบริษัทอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ (ระยอง) 2 เพื่อใช้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง โดยมีธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้จัดสรรเงินกู้ร่วม (Mandated Lead Arranger) และธนาคารกสิกรไทยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)
ที่มา:http://www.bangkokbank.com/BANGKOK%20BANK%20THAI/ABOUT%20BANGKOK%20BANK/ABOUT%20US/MEDIA%20ROOM/2011/JUNE/Pages/PressRelease8Jun.aspx .  8 มิถนายน 2554


สรุป


ธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมลงนามสนับสนุนทางการเงินจำนวนประมาณ  7,900ล้าน บาท เพื่อใช้ในการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยองโดยมีธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้จัดสรรเงินกู้ร่วม (Mandated Lead Arranger) และธนาคารกสิกรไทยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)